พระอภิธรรมปิฎก

พระอภิธรรมปิฎก (บาลี: Abhidhammapiṭaka) เป็นปิฎกฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามใน "พระไตรปิฎกภาษาบาลี" (Pali Canon) อภิธรรม แปลว่า "ธรรมอันยิ่ง" ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วน ๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย[1]

สำหรับพระอภิธรรมปิฎกนั้นแบ่งออกเป็นเจ็ดคัมภีร์ ซึ่งเรียกย่อว่า สํ. วิ. ธา. ปุ. ก. ย. และ ป. ตามลำดับ ประกอบไปด้วย


1. ธัมมสังคณี หรือธัมมสังคณี (เรียกโดยย่อว่า "สํ.") - รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบายทีละประเภท

2. วิภังค์ (เรียกโดยย่อว่า "วิ.") - ยกหมวดธรรมขึ้นตั้งเป็นหัวข้อเรื่องแล้วแยกแยะออกอธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด
3. ธาตุกถา (เรียกโดยย่อว่า "ธา.") - สังเคราะห์หรือจัดประเภทข้อธรรมต่าง ๆ เข้าเป็นหมวดเป็นหมู่ดังต่อไปนี้ คือ ขันธ์ อายตนะ และธาตุ
4. ปุคคลบัญญัติ (เรียกโดยย่อว่า "ปุ.") - บัญญัติความหมายบุคคลประเภทต่าง ๆ ตามคุณธรรมที่มีอยู่
5. กถาวัตถุ (เรียกโดยย่อว่า "ก.") - แถลงและวินิจฉัยทัศนะที่ขัดแย้งกันของนิกายต่าง ๆ ในสมัยสังคายนาครั้งที่ 3 โดยเน้นความถูกต้องของฝ่ายเถรวาท คัมภีร์นี้เป็นบทนิพนธ์ของพระโมคคลีบุตรติสสเถระ
6. ยมก (เรียกโดยย่อว่า "ย.") - ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ ๆ
7. ปัฏฐาน หรือมหาปกรณ์ (เรียกโดยย่อว่า "ป.") - อธิบายปัจจัย 24 และแสดงความสัมพันธ์ระหว่างธรรมทั้งหลายอย่างละเอียด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น